วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

QC Circle ลูกสาวคนสวยของญี่ปุ่น

cle คือกลุ่มย่อยที่ประกอบด้วยพนักงานหน้างาน (First-Line) ซึ่งต้องทำการ ควบคุมและพัฒนา คุณภาพของงาน (สินค้า,บริการ) ของตนเอง กลุ่มย่อยจะต้อง :    ดำเนินการ อย่างอัตโนมัติ (Autonomously) ใช้แนวคิดการควบคุมคุณภาพ, เทคนิคการควบคุมคุณภาพ (QC Techniques) และเครื่องมืออื่นๆในการพัฒนา ค้นหาและดึงความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกในกลุ่ม ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเองและพัฒนาซึ่งกันและกัน
       QC Circle มีจุดมุ่งหมายที่ : พัฒนาศักยภาพของสมาชิกในกลุ่มและสร้างความสำเร็จในแต่ละบุคคลในกลุ่ม สร้างที่ทำงานให้สดใสน่าอยู่ให้เกิดความพึงพอใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตการ ทำงาน พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าและคืนให้กับสังคม
       ผู้บริหารระดับสูงรวมทั้งผู้ จัดการต้องทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าจะสนับสนุน QC Circle เพื่อให้เกิดการพัมนาองค์กรโดย : ให้ความสำคัญกับ QC Circle ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรและสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ ให้ถือเป็นการฝึกทรัพยากรบุคคลให้เกิดทักษะในกิจกรรมการพัฒนาทั่วทั้งองค์กร เช่น TQM จัดหาแนวทางรวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร ซึ่งในขณะเดียวกันต้องให้ความเคารพในความเป็นมนุษย์ของพนักงานทั้งหมด
The Basic Principles of QC Circle Activities
       แสดงศักยภาพของมนุษย์ออกมา อย่างเด่นชัด และเต็มที่รวมทั้งดึงความสามารถที่มีอยู่ออกมาจนถึงที่สุด เคารพในความเป็นมนุษย์ และสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานให้มีชีวิตชีวา และน่าอยู่ สนับสนุน ปรับปรุง และพัฒนาองค์กร

        เท่า ที่ได้อ่านพอสรุปใจความได้ว่าทั้งสอง Revision นั้นแทบไม่ต่างกันเลย เพียงแต่นำมาเรียบเรียงใหม่เท่านั้น แต่ Wording สำคัญที่ทำให้ทั้งผู้บริหาร และผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริม QC Circle ในองค์กรสับสนมาเป็นระยะเวลายาวนานบัดนี้ได้คลี่คลายออกมาแล้วนั้นคือ Voluntarily ซึ่งทำให้เกิดการตีความผิดเพี้ยนไปจากความตั้งใจของผู้เขียน ซึ่งปัจจุบันได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็น Autonomously เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของบทบาทของผู้บริหารนั้นระบุไว้ชัดมาก ว่าจะต้องเป็นผู้สนับสนุน และสร้างระบบให้เกิดความเชื่อมั่นว่า QC Circle นั้นจะสามารถทำให้เกิดการ ปรับปรุง พัฒนาองค์กรอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารจึงหมดข้อสงสัยได้แล้วว่า งาน QC Circle
      นั้นเป็นหน้าที่ของ พนักงานเพียงอย่างเดียว เพราะหาก QC Circle ที่ใดไม่ประสบความสำเร็จ นั่นหมายถึงการขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างจริงจัง
       ความหมายโดยสรุปคือ หากผู้บริหารเชื่อในความสำเร็จของ QC Circle ว่ามีประโยชน์กับองค์กรแน่นอนให้คิดต่อเพียงแค่ว่า "ทำอย่างไรให้ QC Circle ยั่งยืนในองค์กรของเรา"

waramedhi: พ่อ ผู้มีวิสัยทัศน์

waramedhi: พ่อ ผู้มีวิสัยทัศน์: "ชาย เป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง' เป็นคำโบราณที่ยังใช้ได้อยู่ หากมีการจัดโครงสร้างองค์กรภายในบ้าน พ่อย่อมเป็น CEO ภายในบ้าน ภา..."

พ่อ ผู้มีวิสัยทัศน์

ชาย เป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง" เป็นคำโบราณที่ยังใช้ได้อยู่ หากมีการจัดโครงสร้างองค์กรภายในบ้าน พ่อย่อมเป็น CEO ภายในบ้าน ภาระหนักหนาสาหัสในการ รับประกันการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีต่อสังคม จึงเป็นเรื่องที่หลีกหนีความรับผิดชอบไปไม่พ้น

หากจะแบ่งงานเป็นสองงานหลัก ๆ คือ QC (Quality Control) และ QI (Quality Improvement) หรือการดูแลสภาพปัจจุบันให้อยู่ในสภาพปกติ กับการมองไปข้างหน้าเพื่อยกระดับคุณภาพ (ในที่นี้หมายถึงคุณภาพชีวิต) โดยส่วนใหญ่แม่จะเป็นผู้คอยดูแลความเป็นอยู่ของคนภายในบ้าน และจะเป็นผู้ที่กุมกระเป๋าตังส์ของบ้านไว้ด้วย ส่วนพ่อจะเป็นผู้มองอนาคตของทั้งบ้าน
ทั้งนี้การจะมองไปข้างหน้าได้ต้องอาศัยข้อมูลรอบข้างมากมายเพื่อจะดึง สารสนเทศไปสร้างสิ่งที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากแม่จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก นอกเหนือไปจากการหาแหล่งข้อมูลจากภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจากวงสนทนาในหมู่เพื่อนฝูง การได้พบปะกับลูกค้า การได้ปรึกษากับเจ้านาย รวมทั้งข้อมูลจากการอ่านต่าง ๆ ยิ่งถ้าใครได้มีโอกาสไปต่างประเทศก็จะเป็นการเปิดโลกทัศน์มุมมองที่กว้างออก ไปอีกมาก ดังนั้นคุณแม่ทั้งหลายอย่าเพิ่งบ่นว่าพ่อบ้านกลับบ้านดึก นั่นเพราะคุณพ่อกำลังไปสร้างวิสัยทัศน์ให้กับตนเองเพื่อมองอนาคตให้กับบ้าน
ตอนนี้ลูกกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว, พฤติกรรมลูกแปลกไปนะพ่อช่วงนี้กลับบ้านดึกผิดปกติ, ท้ายซอยของเรามีข่าวว่าขายยาบ้าด้วยนะพ่อ, เดี๋ยวนี้ลูกสาวเราแต่งตัวเก่งจังพ่อ แม่แอบเห็นที่หน้าปากซอยมีหนุ่ม ๆ มาส่งด้วย เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้เป็นแม่จะคอย Warning ให้กับพ่อซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจอีกทีว่าจะ Action อย่างไรต่อ
อีกห้าปีลูกต้องเข้าโรงเรียนมัธยมแล้ว เราต้องย้ายบ้านไปอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงเรียนที่จะให้ลูกเข้า, หมู่บ้านนี้ดีมีระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อนพ่ออยู่เยอะเวลามีปัญหาก็จะสามารถช่วยเหลือกันได้, ปีที่แล้วน้ำท่วมปีนี้สงสัยต้องยกพื้นหน่อยนะแม่, แม่ช่วยสังเกตพฤติกรรมลูกหน่อยซิ คอยดูของในห้องด้วยพ่อก็ได้ยินมาเหมือนกันไอ้เรื่องยาบ้าเนี่ย, ไอ้ลูกชายไหนเห็นแม่บอกว่ามีแฟนแล้วพามาเที่ยวบ้านเรามั่งซิ เหล่านี้ก็เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นสำหรับวิสัยทัศน์ และ Action บางอย่างของพ่อ แต่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้ชายย่อมต้องมีหญิงคอยเคียงข้างเสมอ ดังนั้นแม่จะเป็นทั้ง คู่เคียง และคู่คิด ของพ่อโดยตลอด เพราะแม่จะเป็นผู้คุมคลังของบ้าน (สังเกตได้จากข้อมูลการเปิดเผยทรัพย์สินของนักการเมืองภรรยาจะมีทรัพย์สิน มากกว่าสามีทุกท่าน)
แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ชายไทยจะขี้เกรงใจจึงมีคำกล่าวว่า "เรื่องใหญ่ ๆ ไว้ให้พี่ตัดสินใจ ส่วนเรื่องเล็ก ๆ น้องตัดสินใจไปได้เลย" วันนี้แต่งงานกันมา 10 ปีแล้ว น้องเป็นคนตัดสินใจทั้งหมด แสดงว่าบ้านเรามีแต่เรื่องเล็ก ๆ ให้ตัดสินใจนะจ้ะ แต่ก็มีความสุขดี

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทรัพยากรมนุษย์ (HR) ในอนาคตนั้

สิ่งที่นัก HR ต้องปรับตัวคือการมองภาพ HR ทั้งหมดเป็นองค์รวม มองด้วยความเข้าใจ ซึ่งต้องอาศัย 3 สิ่งในการทำงาน ได้แก่
    1) "
หัว" ใช้ในการวิเคราะห์ กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ต่างๆ 
    2) "
ใจ" ต้องบริหารความสัมพันธ์ของคนในองค์การทั้งหมด 
    3) "
กึ๋น" ใช้ในการบริหารและขับเคลื่อนงานต่างๆ ที่วางไว้  
    นัก HR ต้องเฉชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นทั้งกระแสจากภายนอก เช่น กระแสโลกาภิวัฒน์  ความรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ  กระแสด้านมนุษยชน และการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  สุดท้ายคือกระแสจากองค์กรต่างๆที่ไม่ใช่ของรัฐมากขึ้น   ส่วนกระแสจากภายใน เช่น พลังอำนาจของเอกชน และชุมชน  เศรษฐกิจ  สังคมแห่งความเสี่ยง  กฎหมายของประเทศ  แผนพัฒนาประเทศ  นโยบายและวาระเห็นชาติต่างๆ  สิ่งต่างๆ เหล่านี้นักอนาคตวิทยาได้คิดวิเคราะห์ แบ่งเป็น 3 ภาพ ดังนี้ 
    1) Positive Scnario
เป็นการมองภาพอนาคตในแง่ดี 
    2) Negative Scnario
เป็นการมองภาพอนาคตในแบบที่สถานการณ์ร้ายสุดๆ 
    3) The most Probable Scnario
เป็นการมองภาพอนาคตในแง่ที่มีความเป็นไปได้สูงสุด 
   
มีการคาดการณ์อนาคต 10 ปี ของโลกดังนี้
    1) ความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น
    2) การชะงักของ โลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งจะกลับมาสู่การกีดกันทางการค้ามากขึ้น
    3) ความไว้วางใจซึ่งกันและกันจะลดลง
    4) บทบาทภาครัฐบาลจะเพิ่มขึ้น
    5) ขาดความเชื่อมั่นในศาสตร์การบริหารจัดการของตะวันตก (เพราะบริษัทที่ล้มใหญ่ๆ มาจากชาติตะวันตก)
    6) จีน และอินเดียจะมีการบริโภคมากขึ้น
    7) จีน และอินเดียจะเป็นชาติมหาอำนาจแทนประเทศซีกตะวันตก
    8) ความได้เปรียบขึ้นอยู่กับผู้ที่มี นวัตกรรม (อุตสาหกรรมแนวสร้างสรรค์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น)
    9) การยืดหยุ่นจะมีมากขึ้น
    
    
สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่นัก HR ต้องเผชิญโดยเฉพาะสิ่งที่ใกล้ตัวและได้มีการพูดถึงในปัจจุบันมากที่สุดในองค์การ คือเรื่องความแตกต่างของช่วงวัยของบุคลากรในองค์การ ซึ่งประกอบด้วย Baby Boomer   Gen-X  และ Gen-y ซึ่งนัก HR ต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการให้บุคลากรในวัยต่างๆ เหล่านี้ทำงานด้วยกันอย่างรายรื่น
     นองจากนี้ยังเรื่องที่สำคัญที่นัก HR ต้องทำคือ
     1)
การสรรหา และรักษาคนเก่ง 
     2)
สร้างภาวะผู้นำให้กับคนในองค์กร 
     3)
สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมให้กับองค์การ โดยสอดคล้องกับธุรกิจขององค์การนั้นๆ 
     
ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการบริหารค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้วย
    
ผู้เสวนายังเสนอสมรรถนะที่นัก HR ต้องมี ได้แก่
     - สมรรถนะหลักขององค์กร (cOre competency)
     - รู้จักสินด้าและบริการขององค์การ (Business Acumen)
     -
การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Mangement)
     -
ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Stratgic Thinking)
     -
ความรู้ทางเทคโนโลยี (Technology Know-how)
     -
ภาวะผู้นำ (leader ship)
     - การจัดการความรู้ (KM: Knowledge Mangement)
     -
ทักษะการให้คำปรึกษา (Consulting skill)
     -
การสื่อสาร (communication)
     - ความรู้ด้านการพัฒนาองค์การ (OD: Organizational Development)
     -
การสร้างเครือข่าย (Networking)
     -
การวัดผล (Metrics Know-how)
     -
จรรยาบรรณ (Ethics and Intergrity)
นัก HR ต้องต่อสู้กับความท้าทายที่ต้องเอาชนะให้ได้ 3 สิ่ง ได้แก่
     1) Win Business
                - Productivity
                - Competitive Advancetage
                - Sustainable
     2) Win People
                - Engagment
                - Career Development
                - Work life Balance
     3) Win customer
                - Delight
                - Partnership
                - Trust

    
ท้ายนี้นัก HR ต้องเริ่มผันตัวเองจากผู้

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา ดร.อนันท์ งามสะอาด กรอบแนวคิดการบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา เนื้อหา (Contens) การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา 1. ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่ 1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ 1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ 1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ 2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด 2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership) 2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management) ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่  บริหารจัดการด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล — มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนางาน กำหนดนโยบาย — มีกระบวนการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจกับลูกค้า 1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ 1) มีเจ้าภาพ 2) มีส่วนร่วม 3) มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์พันธกิจชัดเจน 4 )รวดเร็วลดขั้นตอน 5 ) แก้ปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้น 6 ) มีประสิทธิภาพประหยัด 7) เกิดผลสัมฤทธิ์ 1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ คือ การพัฒนาสร้างวิสัยทัศน์แบบคิดใหม่ทำใหม่ (Rethinking the Future) ได้แก่ 1) หลักการ (Rethinking Principle) 2) การแข่งขัน (Competition) 3) การบริหารองค์กร (Control & Complexity) 4) ความเป็นผู้นำ (Leadership) 5) ระบบเครือข่าย (Networking) 6) มีส่วนร่วม (Participating) 1.3 ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การแบบบูรณาการ (Integrated organization) ประกอบด้วย 1) การวิจัยและพัฒนา 2) การเงิน 3) กลยุทธ์เป็นสากล 4) กระบวนการผลิต 5) ระบบข้อมูลข่าวสาร 6) การตลาด 7) การบริหาร 8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร 9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน 10) ผู้จัดจำหน่าย 11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการ 12) คนกลาง ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การ ประกอบด้วย 1) การวิจัยและพัฒนา (Research and development) ต้องค้นหานวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เปรียบในเชิงแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ทันเวลา โดยต้องเปิดหาแหล่งความคิดใหม่ ๆ เพื่อการค้นคว้าจากพนักงานทุกระดับด้วยการให้รางวัลในการจูงใจจะได้นำไปสู่การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) การเงิน (Financial) ต้องสรรหาเงินมาลงทุนในหน่วยธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ารวมทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพทางการเงินขององค์การโดยให้พนักงานได้รับทราบถึงความเป็นไปของธุรกิจ 3) กลยุทธ์เป็นสากล (Global Strategy) มีการวางแผนที่จะขยายตัวไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น มิใช่แต่จะรุกตลาดเดิมเพียงอย่างเดียว 4) กระบวนการผลิต (Production Process) ต้องผลิตสิ่งที่จะขายได้ ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ 5) ระบบข้อมูลข่าวสาร (Data System) มีการติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ทันกาลเวลาและทันความต้องการใช้ของธุรกิจ ต้องประมวลทุกอย่างเข้าด้วยกันตั้งแต่ข้อมูล (Data) การบริหารข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล “ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ ” 6) การตลาด (Marketing) เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายในการทำการตลาดมิใช่หน้าที่ของฝ่ายการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้องสร้างเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในองค์การ 7) การบริหาร (Management) ผู้บริหารทุกระดับชั้นนอกจากจะทำการบริหารจัดการในแต่ละหน่วยขององค์การแล้ว ยังต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นนักการตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันต้องบริหารงานภายใต้แนวคิดให้คุณค่าแก่ลูกค้า (Consumer Value) 8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร (Strategic Partner) ไม่จำเป็นต้องมีคนมาก เนื่องจากอะไรที่คนอื่นทำแล้ว ทำได้ดีกว่า ถูกกว่า ให้นำเข้ามาร่วมกับธุรกิจได้ เช่น Outsourcing, Strategic Alliances เป็นต้น 9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Ventures) 10) ผู้จัดจำหน่าย (Vendor Partnering) การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่จะต่อแขนต่อขา จะทำให้องค์การมีความสามารถในการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าได้มากและทั่วถึงขึ้น 11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ 12) คนกลาง (Middlemen) เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางการตลาด ในการกระจายผ่านผู้ค้าคนกลางไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ให้ได้รับความพึงพอใจ หรือถึงผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น จึงต้องมีการรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน 2. การบริหารงานแบบบูรณาการ : ทัศนะ ดร.อนันท์ งามสะอาด 2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ กระบวนการมีอิทธิพล (influence) ซึ่งกันและกันระหว่างผู้นำและผู้ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (achieve organizational objectives) และเกิดการเปลี่ยนแปลง (change) ภาวะผู้นำ (leadership) ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ 1. shared vision 2. team work 3. following up 4. trust 5. empowerment 6. effective communication คุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผล (trait of effective leaders) 1. มีลักษณะเด่น (dominance) 2. มีพลังตื่นตัวมุ่งความสำเร็จ (high energy) 3. เชื่อมั่นในตนเอง (self confidence) 4. เชื่ออำนาจแห่งตน (internal locus of control) 5. อารมณ์มั่นคง (stable) 6. น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ (integrity) 7. มีปฏิภาณไหวพริบ (intelligence) 8. ยืดหยุ่น (flexibility) 9. ไวต่อความรู้สึกของบุคคลอื่น (sensitive to others) ผู้นำทางธุรกิจ ( Leader) 1. เป็นผู้ที่มีแรงขับดันในการทำงานสูง มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายชัดเจน 2. ชอบท้าทายอุปสรรค มีพลังอำนาจเป็นที่ยอมรับของทุกคน 2. คิดเป็น และคิดให้มากกว่าคนอื่น 3. ทำงานเป็น และทำงานหนักกว่าลูกน้อง 4. ยืนอยู่แถวหน้าเสมอ ไม่ว่าองค์การจะรุ่งโรจน์หรือรุ่งริ่ง ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำ Interrelationships ระดับกลุ่ม (Group Level) ระดับองค์การ (Organizational Level) ระดับบุคคล (Individual Level) 2.2 วัฒนธรรมองค์การ :Organization Culture เจ.ซี. สเปนเดอร์ (J.C. Spender) กล่าวว่า เป็นระบบความเชื่อที่สมาชิกขององค์การยืดถือร่วมกัน วัฒนธรรมองค์การ คือวิถีชีวิตของกลุ่มคนในองค์การหนึ่งๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนนั้นๆ วัฒนธรรมองค์การที่ดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน ตัวอย่าง : วัฒนธรรมของศิริราช "SIRIRAJ" มีความหมาย ดังนี้ S = Seniority กัลยาณมิตร ความเป็นพี่เป็นน้อง ความหวังดีช่วยเหลือกัน I = Integrity มีระเบียบวินัยด้วยตัวเอง มีความมั่นคงในคุณธรรม เชื่อถือไว้วางใจได้ R = Responsibility มีความทุ่มเทให้องค์การ คิดถึงประโยชน์ขององค์การ ตั้งใจทำงานจนสำเร็จ I = Innovation พัฒนาความคิดและกระบวนการ มีความคิดสรางสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ R = Respect เห็นคุณค่าของคนทุกระดับ ให้เกียรติและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นเอาใจเขามาใส่ใจเรา A = Altruism การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ความไม่เห็นแก่ตัว J = Journey to excellence and sustainability มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ 2.3 บริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) 1. การร่วมกันวางแผน (Plan) 2. การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Do) 3. การร่วมกันตรวจสอบ (Check) 4. การร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action) แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. พัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ขององค์การอย่างชัดเจน 2. จัดตั้งทีมงานที่มีคุณภาพหลากหลาย 3. พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ 4. พัฒนาระบบข่าวสารข้อมูล 5. สร้างแรงจูงใจ ให้เกียรติยกย่องบุคลากร 6. ยกย่องผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ 7. มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี สรุป การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา 1.ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่ 1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ 1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ 1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ 2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด 2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership) 2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management) การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา

การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา



กรอบแนวคิดการบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา




 



เนื้อหา (Contens)
การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา

1. ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
  1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
  1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
  1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ

2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด
    2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
    2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
    2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management)





ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
  บริหารจัดการด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนางาน กำหนดนโยบาย
มีกระบวนการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจกับลูกค้า

1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1) มีเจ้าภาพ
2) มีส่วนร่วม
3) มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์พันธกิจชัดเจน   
4 )รวดเร็วลดขั้นตอน
5 ) แก้ปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้น
6 ) มีประสิทธิภาพประหยัด
7) เกิดผลสัมฤทธิ์

1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ คือ  การพัฒนาสร้างวิสัยทัศน์แบบคิดใหม่ทำใหม่  (Rethinking the Future) ได้แก่
1) หลักการ (Rethinking Principle)
                2) การแข่งขัน (Competition)
3) การบริหารองค์กร (Control & Complexity)
4) ความเป็นผู้นำ (Leadership)
5) ระบบเครือข่าย (Networking)
6) มีส่วนร่วม (Participating)

1.3 ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การแบบบูรณาการ  (Integrated organization) ประกอบด้วย
1) การวิจัยและพัฒนา
2) การเงิน
3) กลยุทธ์เป็นสากล
4) กระบวนการผลิต
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร
6) การตลาด
7) การบริหาร
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน
10) ผู้จัดจำหน่าย
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการ
12) คนกลาง

ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การ ประกอบด้วย

1) การวิจัยและพัฒนา (Research and development) ต้องค้นหานวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เปรียบในเชิงแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ทันเวลา โดยต้องเปิดหาแหล่งความคิดใหม่ ๆ เพื่อการค้นคว้าจากพนักงานทุกระดับด้วยการให้รางวัลในการจูงใจจะได้นำไปสู่การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) การเงิน (Financial) ต้องสรรหาเงินมาลงทุนในหน่วยธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ารวมทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพทางการเงินขององค์การโดยให้พนักงานได้รับทราบถึงความเป็นไปของธุรกิจ
3) กลยุทธ์เป็นสากล (Global Strategy) มีการวางแผนที่จะขยายตัวไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น มิใช่แต่จะรุกตลาดเดิมเพียงอย่างเดียว
4) กระบวนการผลิต (Production Process) ต้องผลิตสิ่งที่จะขายได้ ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร (Data System) มีการติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ทันกาลเวลาและทันความต้องการใช้ของธุรกิจ ต้องประมวลทุกอย่างเข้าด้วยกันตั้งแต่ข้อมูล (Data) การบริหารข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ
6) การตลาด (Marketing) เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายในการทำการตลาดมิใช่หน้าที่ของฝ่ายการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้องสร้างเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในองค์การ
7) การบริหาร (Management) ผู้บริหารทุกระดับชั้นนอกจากจะทำการบริหารจัดการในแต่ละหน่วยขององค์การแล้ว ยังต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นนักการตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันต้องบริหารงานภายใต้แนวคิดให้คุณค่าแก่ลูกค้า (Consumer Value)
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร (Strategic Partner) ไม่จำเป็นต้องมีคนมาก เนื่องจากอะไรที่คนอื่นทำแล้ว ทำได้ดีกว่า ถูกกว่า ให้นำเข้ามาร่วมกับธุรกิจได้ เช่น Outsourcing, Strategic Alliances เป็นต้น
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Ventures)
10) ผู้จัดจำหน่าย (Vendor Partnering) การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่จะต่อแขนต่อขา จะทำให้องค์การมีความสามารถในการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าได้มากและทั่วถึงขึ้น
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
12) คนกลาง (Middlemen) เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางการตลาด ในการกระจายผ่านผู้ค้าคนกลางไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ให้ได้รับความพึงพอใจ หรือถึงผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น จึงต้องมีการรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน

2. การบริหารงานแบบบูรณาการ : ทัศนะ ดร.อนันท์  งามสะอาด


 












2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
                คือ กระบวนการมีอิทธิพล (influence) ซึ่งกันและกันระหว่างผู้นำและผู้ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (achieve organizational objectives) และเกิดการเปลี่ยนแปลง (change)

ภาวะผู้นำ (leadership)

 








ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ
ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ
1.             shared vision
2.              team work
3.              following up
4.              trust
5.              empowerment
6.              effective communication

คุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผล (trait of effective leaders)
1. มีลักษณะเด่น  (dominance)
2. มีพลังตื่นตัวมุ่งความสำเร็จ (high energy)
3. เชื่อมั่นในตนเอง (self confidence)
4. เชื่ออำนาจแห่งตน (internal locus of control)
5. อารมณ์มั่นคง (stable)
6. น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ (integrity)
7. มีปฏิภาณไหวพริบ (intelligence)
8. ยืดหยุ่น (flexibility)
9. ไวต่อความรู้สึกของบุคคลอื่น (sensitive to others)

ผู้นำทางธุรกิจ ( Leader)
1. เป็นผู้ที่มีแรงขับดันในการทำงานสูง มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายชัดเจน
2. ชอบท้าทายอุปสรรค มีพลังอำนาจเป็นที่ยอมรับของทุกคน
2. คิดเป็น และคิดให้มากกว่าคนอื่น
3. ทำงานเป็น และทำงานหนักกว่าลูกน้อง
4. ยืนอยู่แถวหน้าเสมอ ไม่ว่าองค์การจะรุ่งโรจน์หรือรุ่งริ่ง









 
ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำ Interrelationships



 



 

 
                                                                        

ระดับกลุ่ม (Group Level)                                                                        ระดับองค์การ (Organizational Level)








 

                                                         ระดับบุคคล (Individual Level)


2.2 วัฒนธรรมองค์การ :Organization Culture
เจ.ซี. สเปนเดอร์  (J.C. Spender) กล่าวว่า เป็นระบบความเชื่อที่สมาชิกขององค์การยืดถือร่วมกัน
วัฒนธรรมองค์การ คือวิถีชีวิตของกลุ่มคนในองค์การหนึ่งๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนนั้นๆ วัฒนธรรมองค์การที่ดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน

ตัวอย่าง : วัฒนธรรมของศิริราช "SIRIRAJ" มีความหมาย  ดังนี้
S =  Seniority กัลยาณมิตร ความเป็นพี่เป็นน้อง ความหวังดีช่วยเหลือกัน
I  =  Integrity มีระเบียบวินัยด้วยตัวเอง มีความมั่นคงในคุณธรรม เชื่อถือไว้วางใจได้
R =  Responsibility มีความทุ่มเทให้องค์การ คิดถึงประโยชน์ขององค์การ ตั้งใจทำงานจนสำเร็จ
I  =  Innovation พัฒนาความคิดและกระบวนการ มีความคิดสรางสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ
R =  Respect เห็นคุณค่าของคนทุกระดับ ให้เกียรติและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นเอาใจเขามาใส่ใจเรา
A = Altruism การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ความไม่เห็นแก่ตัว
J  = Journey to excellence and sustainability  มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ



2.3 บริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)
1.  การร่วมกันวางแผน (Plan)
2.  การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Do)
3.  การร่วมกันตรวจสอบ (Check)
4.  การร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action)

แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วม
1.  พัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ขององค์การอย่างชัดเจน 
2.  จัดตั้งทีมงานที่มีคุณภาพหลากหลาย  
3.  พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ 
4.  พัฒนาระบบข่าวสารข้อมูล 
5.  สร้างแรงจูงใจ ให้เกียรติยกย่องบุคลากร
6.  ยกย่องผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ 
7.  มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี 





















สรุป
การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา

1.ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ

2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ  ดร.อนันท์ งามสะอาด
               2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
               2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management)

การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา