วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โอเปกส่งสัญญาณราคาพุ่ง

อับดุลลาห์ เอลบาดรี อับดุลลาห์ เอลบาดรี เลขาธิการโอเปกโอเปกปิดฉากการประชุมที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน โดยไร้ข้อตกลงเพิ่มกำลังผลิต ถึงแม้ว่าประเทศซาอุดีอาระเบียจะพยายามโน้มน้าวประเทศอื่น ๆ ให้ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตแล้วก็ตาม
 นายอาลี อัล ไนมี รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมครั้งหนึ่งที่เลวร้ายที่สุด ความล้มเหลวของการประชุมจะส่งผลเสียต่อประเทศผู้ใช้น้ำมัน หลังจากที่ 4 ประเทศในอ่าวอาหรับอันประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบีย คูเวต กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เสนอให้โอเปกปรับเพิ่มปริมาณการผลิต 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ 30.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่อย่างไรก็ดี มี 7 ประเทศสมาชิกโอเปกซึ่งประกอบด้วย ลิเบีย แอลจีเรีย อังโกลา เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา อิรัก และอิหร่าน ต้องการให้โอเปกตรึงกำลังการผลิตไว้ระดับเดิม 24.84 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2552 ส่วนไนจีเรียแสดงจุดยืนเป็นกลาง และด้านอิหร่านเสนอให้เลื่อนเวลาในการตัดสินใจปรับเพิ่มการผลิตออกไปอีก 2-3 เดือน นายโมฮัมหมัด อาเลียบาดี รักษาการรัฐมนตรีน้ำมันอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านเชื่อว่าอุปทานน้ำมันไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลน
altเจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันอาจสูงถึงระดับ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้ นายอับดุลลาห์ เอลบาดรี เลขาธิการโอเปก กล่าวถึงเหตุผลที่สมาชิกโอเปกส่วนมากเห็นว่าควรคงระดับการผลิตเอาไว้ว่า ในเวลานี้หลายประเทศในโอเปกผลิตน้ำมันเกินกว่าเพดานที่กำหนดเอาไว้แล้ว โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า โอเปกผลิตน้ำมันสู่ตลาดโลกวันละ 26.22 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากระดับการผลิตเดิม 1.375 ล้านบาร์เรล
 เรย์ คาร์โบน เทรดเดอร์น้ำมันในนิวยอร์ก กล่าวว่า ถึงแม้โอเปกตัดสินใจที่จะเพิ่มกำลังการผลิต ราคาน้ำมันก็อาจปรับตัวขึ้นอยู่ดี เพราะหากโอเปกเพิ่มการผลิต ก็หมายถึงว่าโอเปกมีขีดความสามารถในการสำรองน้ำมันน้อยลงหากจะต้องเพิ่มการผลิตเมื่อเศรษฐกิจถึงขั้นวิกฤติอย่างแท้จริงและมีการขาดแคลนน้ำมันอย่างมาก และตามความเห็นของคาร์โบน ในขณะนี้ทั่วโลกไม่ได้ต้องการน้ำมันเพิ่มและตลาดมีการจัดหาน้ำมันที่ดีอยู่แล้ว แต่ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น เพราะนักลงทุนมองหาข้ออ้างที่จะซื้อน้ำมันดิบ

 ซาอุดีอาระเบียประเทศสมาชิกโอเปกก็ไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตที่ว่าทั่วโลกขาดแคลนน้ำมัน สาเหตุหลักที่แท้จริงมาจากนักเก็งกำไรในวอลล์ สตรีตที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์จำนวนมากก็เห็นพ้องเช่นนั้น แต่สำหรับสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และนักการเมืองในประเทศที่นำเข้าน้ำมัน ต่างเรียกร้องให้โอเปกเพิ่มการผลิต โดยกล่าวว่านักลงทุนเพียงแต่มีปฏิกิริยาต่อแนวโน้มในตลาดในระยะยาวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคน้ำมันกำลังเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการผลิต และไม่มีทางเลือกที่สามารถจะทำได้
 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่า การยุติการประชุมลงท่ามกลางความขัดแย้งเช่นนี้ นอกจากจะเป็นเพราะทรรศนะที่ต่างกันในเรื่องวิธีการในการตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภค ยังสืบเนื่องมาจากภูมิหลังของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในเวลานี้อีกด้วย กล่าวคือ กาตาร์ ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในอ่าวอาหรับ ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏลิเบียในการต่อสู้กับรัฐบาลของ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปกเหมือนกัน ส่วนซาอุดีอาระเบียได้สร้างความไม่พอใจให้แก่อิหร่าน เนื่องจากซาอุดีอาระเบียให้การสนับสนุนรัฐบาลบาห์เรนของชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ในการปราบปรามการประท้วงของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์
 ความล้มเหลวของการประชุมสมาชิกผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก)ในครั้งนี้ นับเป็นความสิ้นหวังของประเทศผู้บริโภคน้ำมันที่ต้องการให้โอเปกหยุดยั้งราคาน้ำมันดิบที่กำลังเป็นปัจจัยทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น อีกทั้งยังทำให้มีผู้สังเกตการณ์มองว่าโอเปกมิได้ช่วยควบคุมราคาน้ำมัน แต่กลับเปิดกว้างให้นักเก็งกำไรเข้าโจมตีตลาดน้ำมันได้อย่างง่ายดาย
 หลังจากการประชุมสิ้นสุดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบไลต์และเบรนต์ ทำสถิติปรับตัวสูงสุด ตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าที่ซิดนีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พบว่า ราคาน้ำมันดิบไลต์ปรับตัวสูงขึ้นอีก 73 เซ็นต์ มีราคาอยู่ที่ 101.47 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลังจากเมื่อวันพุธ (8 มิถุนายน) ราคาปิดตลาดที่นิวยอร์กอยู่ที่ 100.74 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และเป็นสถิติราคาน้ำมันสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบไลต์ปรับตัวสูงขึ้นจากปลายปีที่แล้วถึง 36%   ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์จากแหล่งผลิตในทะเลเหนือมีราคาอยู่ที่ 117.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้น 13 เซ็นต์ หลังจากปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8 มิถุนายน) อยู่ที่ 117.85 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็นราคาสูงสุดในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันอาจสูงถึงระดับ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้
 สหรัฐฯและสหภาพยุโรปพยายามบีบให้โอเปกเพิ่มการผลิตเพราะจะเป็นกลวิธีที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง นายเจย์ คารนีย์ โฆษกทำเนียบขาวกล่าวว่ารัฐบาลสหรัฐฯ วิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำมัน และระบุว่ายังคงเปิดทางเลือกที่จะใช้น้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ที่มีน้ำมัน 727 ล้านบาร์เรล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น